“กรรมการสิทธิฯ แห่งชาติ” เป็นได้ อย่างไร

คุณสมบัติ
ผู้มีสิทธิได้รับการสรรหาให้เป็น “คณะกรรมการสิทธิ มนุษยชน แห่งชาติ” ตาม พระราชบัญญัติ คณะกรรมการสิทธิ มนุษยชน แห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดไว้ใน มาตรา 6 ว่า บุคคลที่มี คุณสมบัติ และ ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ จึงจะสามารถ เป็นกรรมการสิทธิฯ ได้
(1) มีสัญชาติไทย โดยการเกิด
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี บริบูรณ์
(3)ไม่เป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิก
สภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(4) ไม่เป็น ผู้ดำรงตำแหน่ง ของพรรคการเมือง
(5) ไม่เป็น บุคคลวิกลจริต หรือ จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
(6) ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
(7) ไม่เป็น บุคคลล้มละลาย
(8) ไม่เป็น บุคคลที่ต้องคำพิพากษา ให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่ โดยหมายของศาล
(9) ไม่เป็น บุคคลที่เคยต้องคำพิพากษา ให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษ มายังไม่ถึง ห้าปี ในวันได้รับการเสนอชื่อ เว้นแต่ในความผิด อันได้กระทำโดยประมาท
(10) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ หรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือเพราะประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการ ทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ
(11) ไม่เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล ให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวย ผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(12) ไม่เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือสมาชิกสภาที่ปรึกษา เศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ
(13) ไม่เคย ถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอน ออกจากตำแหน่ง

นอกจากนี้ ในมาตรา 7 ยังกำหนดอีกว่า ผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการ ต้อง
(1) ไม่เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่ง หรือเงินเดือนประจำ
(2) ไม่เป็นพนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือไม่เป็นกรรมการ หรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจ หรือของหน่วยงานของรัฐ
(3) ไม่ดำรงตำแหน่งใด ในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
เมื่อวุฒิสภาเลือกบุคคล ตาม (1) (2) หรือ (3) โดยได้รับความยินยอม ของผู้นั้น ผู้ได้รับเลือก จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ ต่อเมื่อได้ลาออก จากการเป็นบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) แล้ว ซึ่งต้อง กระทำ ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับเลือก แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออก ภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่า ผู้นั้นไม่เคยได้รับเลือก ให้เป็นกรรมการ และให้ดำเนินการสรรหา และเลือกกรรมการใหม่แทน

วิธีการเข้าเป็นกรรมการสิทธิ
ตามมาตรา 8 แห่ง พรบ.คณะกรรมการสิทธิฯ กำหนดเกี่ยวกับ การสรรหา และการเลือกกรรมการ ไว้ ดังต่อไปนี้
(1) ให้มี คณะกรรมการสรรหากรรมการ ประกอบด้วย
– ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน
– ศาลปกครองสูงสุด
– อัยการสูงสุด
– นายกสภาทนายความ
– อธิการบดี หรือผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา ที่เป็นนิติบุคคลแห่งละหนึ่งคน ซึ่งเลือกกันเอง ให้เหลือห้าคน
– ผู้แทนองค์การเอกชน ด้านสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 24 แห่งละหนึ่งคน ซึ่งเลือกกันเอง ให้เหลือสิบคน
– ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรค ที่มีสมาชิก เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคละหนึ่งคน ซึ่งเลือกกันเอง ให้เหลือห้าคน
– ผู้แทนสื่อมวลชน ในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเลือกกันเอง กิจการละหนึ่งคน รวมเป็นสามคน
– และเลขาธิการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ เป็นเลขานุการ
และให้คณะกรรมการสรรหา มีหน้าที่สรรหา และจัดทำบัญชีรายชื่อ บุคคลที่เหมาะสม จะเป็น กรรมการ ตามมาตรา 5 จำนวน ยี่สิบสองคน โดยต้องคำนึงถึง การมีส่วนร่วมของ ทั้งหญิงและชาย เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอ พร้อมความยินยอม ของผู้ได้รับการ เสนอชื่อนั้น รวมทั้งเอกสาร หรือหลักฐาน ที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ได้รับการเสนอชื่อ เป็นผู้ที่เหมาะสม กับการเป็นกรรมการ และมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 6 ทั้งนี้ ภายใน หกสิบวัน นับแต่วันที่มีเหตุ ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคล ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว มติในการเสนอชื่อ ต้องมี คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สามในสี่ ของจำนวน กรรมการสรรหาทั้งหมด เท่าที่มีอยู่
(2) ให้ประธานวุฒิสภา เรียกประชุมวุฒิสภา เพื่อมีมติเลือก ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ตาม (1) ซึ่งต้องกระทำ โดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ ให้ผู้ซึ่ง ได้รับคะแนนสูงสุด และมีคะแนน มากกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิก ทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ ของวุฒิสภา ตามลำดับ เป็นผู้ได้รับเลือก เป็นกรรมการ แต่ถ้าไม่มี ผู้ได้รับเลือก เป็นกรรมการ หรือมีผู้ได้รับเลือก เป็นกรรมการ ไม่ครบ สิบเอ็ดคน ให้นำรายชื่อ ผู้ไม่ได้รับเลือก ในคราวแรกนั้น มาให้สมาชิกวุฒิสภา ออกเสียง ลงคะแนน อีกครั้งหนึ่ง และในกรณีนี้ ให้ถือว่า ผู้ได้รับคะแนนเสียง มากกว่ากึ่งหนึ่ง ของสมาชิกทั้งหมด เท่าที่ มีอยู่ของวุฒิสภา เป็นผู้ได้รับเลือก เป็นกรรมการ ถ้ามีผู้ได้คะแนนเสียง เท่ากัน อันเป็นเหตุ ให้มี ผู้ได้รับเลือก เกินสิบเอ็ดคน ให้ประธานวุฒิสภา จับสลากว่า ผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก ในกรณีที่ไม่มี ผู้ใดได้รับเลือก เป็นกรรมการ หรือได้รับเลือก เป็นกรรมการ ไม่ครบสิบเอ็ดคน ให้คณะกรรมการ สรรหา ดำเนินการสรรหา และจัดทำบัญชี รายชื่อบุคคล ตาม (1) เพื่อเสนอวุฒิสภา ลงมติ เลือกใหม่
ให้ผู้ได้รับเลือก ตาม (2) ประชุม และเลือกกันเอง ให้คนหนึ่งเป็น ประธานกรรมการ แล้วแจ้งผล ให้ประธานวุฒิสภาทราบ และให้ประธานวุฒิสภา นำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป

ซึ่งคุณสมบัติ และวิธีการสรรหา ที่นำมาเสนอนี้ เป็นไปตามกฎหมายเดิม ก่อนมีการแก้ไข รัฐธรรมนูญ ดังนั้น คุณสมบัติและวิธีการสรรหา ที่จะนำมาใช้กับ “คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ” ชุดใหม่ จึงอาจจะมี การแก้ไขเปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้อง กับ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ.2550

แต่อย่างไรก็ตาม โดยเนื้อหาสาระสำคัญ ในเรื่องของคุณวุฒิ คุณสมบัติ ก็ไม่ถึงกับ แตกต่าง มากนัก ยกเว้นในบางข้อ ที่อาจจะต้องถกเถียงกัน ต่อไป ดังนั้น จึงขอเสนอกรอบ ตามกฎหมายเก่า ไปพลางก่อน เพื่อให้ได้ช่วยกันคิดว่า “ใคร? ควรจะได้รับ การสรรหา” ให้เป็น คณะกรรมการสิทธิฯ ชุดต่อไป

แล้วแท้ที่จริง คุณสมบัติ ที่นำเสนอมาข้างต้น เพียงพอหรือไม่ ที่จะมาเป็น กรรมการสิทธิ “คุณสมบัติ” แบบไหน ที่ควรได้รับความไว้วางใจ ให้มาเป็น “กรรมการสิทธิ” ผู้ที่ต้องทำหน้าที่ ปกป้อง และตรวจสอบ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้แก่ ประชาชน ในประเทศไทย

หมายเหตุ : ดูร่าง พรบ.คณะกรรมการสิทธิฯ ฉบับแก้ไข ได้ที่ ตารางเปรียบเทียบ ร่าง พรบ. คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ

บทความนี้ ได้จัดเขียนโดยมีเชิงอรรถ แต่ไม่สามารถ นำเสนอ ในบล็อคได้ หากต้องการอ่าน ในรูปแบบ ที่มีเชิงอรรถ โปรดเข้าดูที่ คุณสมบัติและวิธีการสรรหา

Explore posts in the same categories: NHRC

ป้ายกำกับ: , ,

You can comment below, or link to this permanent URL from your own site.

ใส่ความเห็น