บทบาทของ คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ

โดย นายอำนาจ เนตยสุภา
อัยการประจำกรม สำนักงานอัยการสูงสุด

เผยแพร่ใน http://www.ago.go.th/bods/bykanongdetch/HumanRights.htm

ระบบกฎหมายไทย ได้มีมาตรการในการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ ของปัจเจกชน ในรูปแบบต่าง ๆ มานานแล้ว เพียงแต่ว่าในขณะนั้นยังมิได้มีการเรียกกันว่า “สิทธิมนุษยชน” (Human Rights) คำว่า “สิทธิมนุษยชน” ได้มีการนำเข้าใช้ ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อประเทศไทยได้ให้ ความเห็นชอบ กับปฏิญญาสากล ว่าด้วย สิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ของสหประชาชาติ (United Nation) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 หลังจากนั้น ประเทศไทยได้มีพัฒนาการ ในการเข้าเป็น ภาคีสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชน จำนวนหลายฉบับด้วยกัน เช่น อนุสัญญา ว่าด้วย สิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) อนุสัญญา ว่าด้วย การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตร ีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women), กติการะหว่างประเทศ ว่าด้วย สิทธิทางพลเมือง และ สิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) และ กติการะหว่างประเทศ ว่าด้วย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights) อย่างไรก็ดี แม้ประเทศไทย จะได้มีพันธกรณี ระหว่างประเทศ ด้านสิทธิมนุษยชน ตามสนธิสัญญาต่าง ๆ ดังที่กล่าวแล้ว ก็ตาม แต่การที่จะให้มีการ ส่งเสริม และ คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น กรณีจำต้องมีการรับรองถึง สิทธิดังกล่าว รวมทั้งจะต้องมีองค์กร หรือ บุคลากร เพื่อที่จะรับผิดชอบ ดำเนินการ ในการปกป้อง และ ค้มุครอง อย่างเป็นรูปธรรม

ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้มีการกำหนดให้ คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ (National Human Rights Commission) เป็น องค์กรอิสระ ที่มีหน้าที่ ในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อีกทั้ง รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ยังได้มี บทบัญญัติ ที่มุ่งส่งเสริม และ คุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ ของประชาชนอย่างเด่นชัด มากกว่า รัฐธรรมนูญ ฉบับก่อน ๆ ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิของผู้ต้องหา หรือ จำเลย ผู้เสียหาย รวมทั้งพยาน และบุคคลอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องใน กระบวนการยุติธรรม ทางอาญา แต่อย่างไรก็ดี แม้รัฐธรรมนูญฯ ฉบับดังกล่าว จะได้มีการรับรอง และ คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน รวมทั้งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย ์ไว้แล้วก็ตาม แต่นิยามของคำว่า “สิทธิมนุษยชน” ภายใต้ระบบกฎหมายไทย ซึ่งอยู่ในรูปของ ประมวลกฎหมาย (Civil Law) กลับได้มีการจำกัด ขอบเขต ความหมาย ไว้แต่เพียงว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค ของบุคคล ที่ได้รับการรับรอง หรือ คุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย หรือ ตามกฎหมายไทย หรือ ตามสนธิสัญญา ที่ประเทศไทย มีพันธกรณี ที่จะต้องปฏิบัติตาม” เท่านั้น ซึ่งส่งผลทำให้ สนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่ประเทศไทยมิได้มีพันธกรณี แม้จะมี ความสำคัญมากสักเท่าใด ก็ตาม แต่จะไมไ้ด้่รับ การส่งเสริม และ คุ้มครอง อย่างเหมาะสม และ เท่าเทียม กันกับ สนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทย มีพันธกรณี และ ยิ่งไปกว่านั้น คำนิยามดังกล่าว อาจไม่สามารถครอบคลุมไปถึง การละเมิดสิทธิมนุษยชน ในรูปแบบใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และ การละเมิดสิทธิมนุษยชน
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า กระบวนการยุติธรรมทางอาญา คือ กระบวนการ ในการนำตัวผู้กระทำผิด กฎหมายอาญา มาลงโทษ จึงได้มีมาตรการ ทางกฎหมายต่าง ๆ ไว้มากมาย นับตั้งแต่การจับ การค้น การควบคุม การสอบสวน การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณา และ พิพากษาคดี ในขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ กฎหมายได้ให้อำนาจรัฐ ไว้อย่างรัดกุม ทั้งน ี้เพื่อมิให้คนบริสุทธิ์ ต้องถูกลงโทษ หรือ แม้บุคคลดังกล่าว จะเป็นผู้กระทำความผิด แต่การปฏิบัติ ต่อผู้กระทำความผิด ก็จะต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรม ไม่โหดร้าย ทารุณ หรือ ละเมิด ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ของเขา กฎหมายต่าง ๆ จึงต้องพยายามรักษา ความสมดุล ระหว่างอำนาจรัฐ ในการนำตัว ผู้กระทำความผิดมาลงโทษ มากเกินไป ประชาชนก็อาจ ได้รับความเดือดร้อน เพราะเจ้าหน้าที่รัฐ จะมีอำนาจอย่างกว้างขวาง ในการจับ การค้น การสอบสวน การควบคุมตัว ฯลฯ ในทำนองเดียวกัน หากมุ่งคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ ของประชาชน มากเกินไป โดยเกรงว่า ประชาชนจะได้รับ ความเดือดร้อนรำคาญ จากการใช้อำนาจ ของเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้กระทำความผิด ก็อาจหลุดพ้น จากการถูกนำตัวมาลงโทษ อันจะส่งผลเสียหายต่อสังคม

อย่างไรก็ดี ในทางความเป็นจริงของสังคมไทยนั้น ปัญหา การละเมิดสิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญา ยังปรากฎขึ้นเป็นเนือง ๆ เช่น กรณีของ น.ส.เชอรี่แอน ดันแคน ที่เจ้าหน้าที่รัฐ ได้มีการจับกุม และ ลงโทษ ผู้บริสุทธิ์ กรณีวิสามัญฆาตกรรม หรือ ฆ่าตัดตอน บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับยาเสพติด เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้น ดังที่ได้กล่าวมานี้ ถือได้ว่า เป็นการละเมิด สิทธิมนุษยชน อย่างร้ายแรง ที่เห็นได้ อย่างประจักษ์ชัด ในสังคมไทย และ สังคมระหว่างประเทศ แต่สำหรับช่องทาง ในการร้องเรียน การละเมิดสิทธิมนุษยชน ในประเทศไทย เพื่อที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว นั้น ในบางช่องทาง ก็ยังประสบปัญหา เช่น กระบวนการ ใช้สิทธิ ทางศาลยุติธรรม ยังมีข้อจำกัดหลายประการ ทั้งในเรื่องของ กระบวนการพิจารณา ที่ซับซ้อน เสียค่าใช้จ่าย และต้องใช้เวลานาน กว่าจะได้รับความเป็นธรรม คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาต ิจึงอาจถือได้ว่า เป็นทางเลือกหนึ่ง ของประชาชน ที่จะสามารถแก้ไข ป้องกัน และ เยียวยา ประชาชน ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

กระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วย คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนด ให้ ผู้ที่จะร้องเรียน การละเมิด สิทธิมนุษยชน ต่อ กรรมการสิทธิมนุษยชน ได้นั้น ประกอบขึ้นด้วย 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ คือ ผู้ถูกละเมิด ร้องเรียนเอง หรือ มอบหมายให้ผู้อื่น หรือ องค์กรเอกชน ด้านสิทธิมนุษยชน ร้องเรียนแทน, องค์กรเอกชน ด้านสิทธิมนุษยชน เป็นผู้ร้องเรียน และ กรรมการสิทธิ มนุษยชน ตรวจสอบเอง โดยไม่ต้องมีใครมาร้องเรียน ซึ่งการร้องเรียนดังกล่าว สามารถทำได้ ทั้งการเป็นเอกสาร การส่งทาง ไปรษณีย์ตอบรับ ทางวาจา ทางจดหมาย อิเลคโทรนิคส์ หรือวิธิการอื่น ๆ ที่ คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ เห็นว่า สามารถกระทำได้ โดยออกเป็นระเบียบ

ภายหลังจากที่ได้รับเรื่องการร้องเรียนแล้ว คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ จะมีอำนาจหน้าที่ ในการรับเรื่อง และ พิจารณา ดังต่อไปนี้
1. พิจารณาว่า เรื่องที่รับมาอยู่ในอำนาจหน้าที่ หรือไม่ หากไม่อยู่ในอำนาจหน้าที ่ให้แจ้งแก่ ผู้ร้องเรียน โดยไม่ชักช้า และส่งเรื่องให้บุคคล หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไข ตามที่เห็นสมควร
2. หากพิจารณาแล้ว เห็นว่า เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจ การพิจารณา แก้ไข โดยองค์กรอื่น ๆ ที่มี อำนาจหน้าที่ อาจส่งเรื่องให้องค์กรนั้น ยังมิได้ดำเนินการ หรือ ไม่รับเรื่องไว้พิจารณา คณะกรรมการฯ อาจรับเรื่องกลับ ไปพิจารณา หากเป็นเรื่อง ที่อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่
3. เรื่องรับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว ต้องดำเนินการ ให้บุคคล หรือ หน่วยงาน ที่เป็นผู้ถูกร้องเรียน ชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งเสนอ พยานหลักฐาน ภายในเวลาที่กำหนด เมื่อพ้นเวลาดังกล่าว ต้องให้โอกาส ทุกฝ่ายชี้แจง และ แสดงหลักฐานประกอบ และใ ห้คู่กรณีนำทนาย และที่ปรึกษากฎหมาย มาร่วมในกระบวนการตรวจสอบได้
4. ในระหว่างการตรวจสอบ อาจให้คู่กรณี ดำเนินการ ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม ปัญหา การละเมิดสิทธิมนุษยชน และ ถ้าเห็นว่า ดำเนินการ ในกรอบดังกล่าวได้แล้ว ก็อาจ ให้มีการ ทำข้อตกลง เป็นหนังสือไว้เป็นหลักฐาน และยุติเรื่อง แต่หาก ปรากฎในภายหลังว่า ไม่มี การปฏิบัติตาม ที่ได้ตกลงกันไว้ คณะกรรมการฯ ก็มีสิทธิ ที่จะหยิบยก ปัญหาการละเมิด ดังกล่าว ขึ้นมาพิจารณาตรวจสอบ ต่อไป
5. เมื่อตรวจสอบแล้ว ต้องทำรายงาน ผลการตรวจสอบ และเสนอแนะ มาตรการ การแก้ไขปัญหา แจ้งต่อบุคคล หรือ หน่วยงาน ที่ละเมิดมนุษยชน ให้ดำเนินการแก้ไข หรือ มีมาตรการ ป้องกันภายในเวลา ที่กำหนด โดยเมื่อดำเนินการแล้ว ต้องแจ้งให ้คณะกรรมการฯ ทราบ แต่หาก ไม่แล้วเสร็จ ภายในเวลา ก็อาจขยายระยะเวลาได้ ไม่เกินสองครั้ง
6. หากผู้ละเมิด ไม่ดำเนินการแก้ไข ให้รายงาน ต่อ นายกรัฐมนตรี เพื่อสั่งการ ให้ผู้ละเมิด ดำเนินการ และนายกรัฐมนตรี ต้องสั่งการ ภายในหกสิบวัน นับแต่ วันที่ได้รับรายงาน
7. หากผู้ละเมิด ไม่ดำเนินการ ตามที่นายกรัฐมนตรีี ให้ดำเนินการ หรือ นายกรัฐมนตรี ไม่ยอมสั่งการ ภายในระยะเวลา หกสิบวัน นับแต่ วันที่ได้รับรายงาน ให้รายงาน ต่อรัฐสภา และเผยแพร่ ให้สาธารณชนทราบ

อย่างไรก็ดี ขอบเขตอำนาจหน้าที ่ของ คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ ในการตรวจสอบ การละเมิด สิทธิมนุษยชน ยังตกอยู่ภายใต้ ข้อจำกัด ที่ว่า การละเมิด สิทธิมนุษยชน จะต้องมิใช่ เรื่องที่มีการฟ้องร้อง เป็นคดีอยู่ในศาล หรือ ที่ศาลพิพากษา หรือ มีคำสั่งเด็ดขาด แล้ว

สภาพปัญหา และ อุปสรรค ในการตรวจสอบ การละเมิดสิทธิมนุษยชน
นับตั้งแต่ที่ได้มีการริเริ่ม จัดตั้ง คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาต ิขึ้นเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย พบได้ว่า มีประเด็นปัญหา อุปสรรค และ ข้อจำกัด ในเรื่องการตรวจสอบ การละเมิด สิทธิมนุษยชน อยู่หลายประการ ทั้งที่ เกิดขึ้นจาก บทบัญญัติของกฎหมาย และทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ ที่ไม่ถูกต้อง ขององคาพยพต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งอาจจำแนกได้ ดังต่อไปนี้
1. การตรวจสอบ การละเมิด สิทธิมนุษยชน ในกรณีที่มี การนำเสนอคดี ขึ้นสู่ศาลแล้ว หรือ มีการพิจารณาคดี ตัดสินคดี แล้ว ไม่อาจกระทำขึ้นได้ จึงอาจเป็นช่องโหว่ ให้เจ้าหน้าที่ หรือ หน่วยงานของรัฐ อาศัยเป็นช่องทาง ในการหลีกหนี การตรวจสอบ โดยการรีบนำคดี ขึ้นสู่ศาล รวมทั้ง ยังทำให้ ขาดการตรวจสอบ คำพิพากษา หรือ คำวินิจฉัยชี้ขาด ขององค์กรตุลาการ หรือองค์กรอื่น ๆ ที่มีลักษณะ เป็นการขัด หรือ ละเมิด ต่อหลักสิทธิมนุษยชน
2. คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นใหม่ มีอัตรากำลังค่อนข้างน้อย รวมทั้ง เจ้าหน้าที่ ที่รับโอนมาส่วนหนึ่ง ยังขาดความเข้าใจในปรัชญา แนวความคิด และหลักการ สิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐาน อันส่งผลต่อ แนวทางการปฏิบัติงาน และส่วนหนึ่ง ยังคงอยู่ในกรอบ การดำเนินการ แบบหน่วยงานราชการ ทั่ว ๆ ไป
3. คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ เป็นเพียงองค์กร ที่มีอำนาจในการตรวจสอบ และทำความเห็น หรือข้อเสนอแนะ ให้มีการดำเนินการ ซึ่งจะมีการดำเนินการ หรือไม ่อย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับ การตัดสินใจ ขององค์กรอื่น ที่มีอำนาจ ในการวินิจฉัยชี้ขาด คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ จึงมีลักษณะเป็นเพียง “เสือกระดาษ” เท่านั้น
4. ในทางความเป็นจริง ผู้ที่ถูกละเมิด สิทธิมนุษยชน อาจใช้สิทธิ ในการร้องเรียน การละเมิด สิทธิมนุษยชน ผ่านทางหลายช่องทาง เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ศาลยุติธรรม หรือ ศาลปกครอง ได้ในคราวเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหา ความซ้ำซ้อน ในการตรวจสอบ การละเมิด สิทธิมนุษยชน
5. การตรวจสอบ การละเมิด สิทธิมนุษยชน ในหลายเรื่อง ของคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ ยังขาดรูปแบบ และแนวทางที่ชัดเจน ส่วนใหญ่ จะเป็นไปตามความถนัด และ ประสบการณ์ ของกรรมการ สิทธิมนุษยชน แต่ละคน มากกว่า การใช้หลักวิชา หรือ กรอบอำนาจของกฎหมาย ในการดำเนินการ ทำให้มาตรฐาน ของเนื้อหา การตรวจสอบ ไม่เป็นในทิศทางเดียวกัน หรือ มีมาตรฐานเดียวกัน
6. คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ ยังขาดองค์กร เครือข่าย หรือหน่วยงาน ที่จะตรวจสอบ และกลั่นกรอง ข้อเท็จจริง ในเบื้องต้น รวมทั้ง ไม่มีอำนาจ ในการออกคำสั่งชั่วคราว เพื่อระงับ หรือ บรรเทาความเสียหาย ในเบื้องต้น ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัย หรือ รายงานผลการตรวจสอบ
7. คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ ไม่มีอำนาจ ในการเยียวยา หรือชดใช้ความเสียหาย ให้แก่ถูกละเมิด สิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะค่าเสียหาย ที่ผู้ถูกละเมิดพึงได้รับ ทำให้ผู้ถูกละเมิด จะต้องไป ใช้กระบวนการทางอื่น เช่น กระบวนการทางศาล ซึ่งใช้เวลา และค่าใช้จ่าย ค่อนข้างสูง
8. คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ ยังขาดสำนักงาน ในระดับภูมิภาค เพื่อรองรับการร้องเรียน และ การตรวจสอบ การละเมิด สิทธิมนุษยชน อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ
9. คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ ยังขาดผลงาน ในด้านการตรวจสอบกฎหมาย ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และยังมีผลใช้บังคับในปัจจุบัน รวมไปถึง ความเห็นต่อประเด็น ด้านกฎหมาย หลายประการ ที่คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ ได้นำเสนอต่อรัฐบาล และเผยแพร่ ต่อสาธารณชน ไม่ได้รับความสนใจ และหยิบยกขึ้นมา เป็นประเด็นในการพิจารณา ในสังคมไทย มากนัก
10. เจ้าหน้าที่รัฐ ในองค์กรต่าง ๆ รวมไปถึงประชาชน ยังขาดความรู้่ ความเข้าใจ ในหลักสิทธิมนุษยชน รวมไปถึง กลไกในการแก้ไข ความเดือดร้อน ตามช่องทางของกฎหมาย ได้อย่างถูกต้อง
…………………………………………….

หมายเหตุ : บทความนี้ี้ ผู้เขียนได้เขียนขึ้นก่อน มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ แห่ง ราชอาณาจักร ไทย พ.ศ.2550

แต่เนื่องจากเห็นว่า มีเนื้อหาส่วนใหญ่ที่น่าสนใจและนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน จึงคัดลอกมาลงไว้

Explore posts in the same categories: Uncategorized

ป้ายกำกับ: ,

You can comment below, or link to this permanent URL from your own site.

16 ความเห็น บน “บทบาทของ คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ”

  1. ผู้สนใจ Says:

    บทบาทกรรมการสิทธิ เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ
    แต่เหนือกฎหมายบัญญัติ คนที่ทำงานเกี่ยวกับ “สิทธิ”
    ต้องเข้าใจในเรื่อง “สิทธิ” และ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”
    ที่มีอยู่ในตัวคนทุกคน มิใช่รู้เพียงตัวหนังสือ
    ที่ร่ำเรียนมาเท่านั้น

  2. สิทธฺ Says:

    น่าจะพัฒนาคนให้รู้เรื่องสิทธิกันเยอะๆ แค่สิทธิขั้นพื้นฐาน
    ก็ควรที่จะทำให้ได้ ก่อนที่จะพูดถึงสิทธิระดับชาติ

    ศีล 5 คือ การป้องกันการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน
    ข้อ 1 ไม่ไปละเมิดชีวิตคนอื่น
    ข้อ 2 ไม่ไปละเมิดทรัพย์สินคนอื่น
    ข้อ 3 ไม่ไปละเมิดของรักคนอื่น
    ข้อ 4 ไม่ใช้วาจาไปละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นคนของคนอื่น
    ข้อ 5 มีสติเพื่อไม่กระทำการละเมิดอื่นๆ

    ควรปลูกฝังในคนทุกคน ยิ่งคนที่จะมาทำงานเกี่ยวกับสิทธิมีกันครบหรือยัง
    ลองถามตนกันบ้างว่า สิทธิขั้นพื้นฐานนี้มีอยู่ในตนเองบางไหม
    หรือเคยไปละเมิดของคนอื่นบ้างไหม
    แล้วเคยเยียวยาแก้ไขไหมเมื่อพลาดไปละเมิดสิทธิคนอื่นให้เขาเสียหาย
    สิทธิเบื้องต้นนี้ถ้ากระทำไม่ได้
    ถึงมีความรู้มากมายขนาดไหน
    บุคคลนั้น
    ก็ยังไม่สมควรที่จะ
    มารักษาสิทธิให้คนทั้งประเทศ

  3. ประชาชน Says:

    คนเขียนยังละเมิดสิทธิอยู่เลย มาเขียนอย่างนี้ไม่ละอายใจบ้างหรือ

  4. คนใจดี Says:

    การเลือกขจัดปฏิบัติต่อสตรี คณะกรรมการสิทธิน่าจะมีอำนาจหน้าที่ตรงนี้ด้วย หรือควรมีหน่วยงานหรือองค์กรที่ชัดเจนจัดการ

  5. เพื่อนถูกละเมิด Says:

    อยากทราบเหมือนกันว่าคนเขียนไปละเมิดใครบ้างเพราะว่าคนรอบข้างก็โดนเหมือนกัน วันหลังจะได้รู้เท่าทันผู้ชายคนนี้
    ช่วยด้วยนะคะ เพราะว่ายังมีเหยื่ออีกมากมายที่อาจจะโดนได้จะได้บอกต่อกันไป

  6. ป้องกันสิทธิ Says:

    อยากรู้ประวัดผู้เขียนว่าละเมิดสิทธิใครบ้าง ทำอะไรมาบ้าง เพราะเป็นคนมีหน้ามีตาในสังคม
    ไม่อยากให้เหยื่อรายต่อไปเป็นคนรอบข้าง
    สงสารผู้หญิง ถ้าใครเคยโดนคนเขียนละเมิดสิทธิก็ติดต่อมาได้นะ
    เราต้องปกป้องสิทธิความเป็นสตรี
    patriya.clear@gmail.com

  7. ประชาชน Says:

    ผู้เขียนมีความรู้ในด้านกฎหมายเป็นอย่างดีโดยเฉพาะในเรื่องที่เขียน แต่การกระทำนั้นกลับตรงกันข้ามกับความรู้ การศึกษา ปริญญาที่ได้รับมา

  8. สำนึกที่ดี Says:

    ขอให้กลับมามีจิตสำนึกที่ดี
    แก้ไขสิ่งไม่ดีที่ได้ทำไป
    ละเมิดสิทธิใครบ้างควรรับผิดชอบและกล้าที่จะแก้ไข
    ให้สมกับภาษีของคนทั้งประเทศและหน่วยงานที่สังกัด
    ที่เสียเงินไปให้ศึกษาและให้โอกาสทำงานด้านสิทธิมนุษยชน

  9. คนไทย Says:

    …..อภัยให้เขาเถอะ….มาสร้างสิ่งดีๆรวมกันดีกว่า :)….

  10. นั่นแหละ Says:

    ….นั่นแหละ… :> สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
    คัดสรรอย่างรอบคอบเพื่อได้คนดีมาทำหน้าช่วยเหลือประชาชน

  11. ผู้สนใจ Says:

    ควรมีการกำหนดคุณสมบัติและคัดกรองบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ
    และมีคุณธรรมเป็นที่ประจักษ์ของบุคคลที่จะมาเป็นกรรมาธิการในแต่ละคณะในสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ชัดเจนด้วย เพราะบุคคลที่เป็นกรรมาธิการในแต่ละคณะเป็นผู้ที่จะเข้ามาพิจารณาข้อพิพาท หากไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ก็กระทบถึงสิทธิของบุคคลอื่นได้มาก

  12. แนะนำ Says:

    ควรมีการตรวจสอบผู้ที่มาทำงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ
    ผู้ที่ทำงานด้านนี้หลายท่าน ยังคงมีพฤติกรรมละเมิดสิทธิผู้อื่น
    โดยเฉพาะสิทธิเด็กและสิทธิสตรีถูกละเมิดอย่างมากจากบุคคลที่มีชื่อว่าเชี่ยวชาญทางด้านนี้หรือแม้แต่ผู้ที่เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนหลายๆท่าน
    ก็ยังไม่เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างถึงรากฐาน บางคนขโมยชิ้นงานคนอื่นมาเป็นของตนเอง บางคนทำงานเพื่อปิดบังธุรกิจที่ไม่ดีที่อยู่เบื้องหลัง
    หลายคนละเมิดสิทธิคนทั้งประเทศแต่ก็ทำตัวเฉยเมินต่อสิ่งที่กระทำทั้งที่ศึกษาและมีความรู้เรื่องนี้มาอย่างดี ควรเลือกบุคคลที่มาทำงานด้านนี้อย่างรอบคอบ ไม่งั้นก็เหมือนเพียงได้คนที่มีแค่รู้ในหนังสือหรือมีปริญญามารองรับว่ามีความรู้ แต่ที่แท้จริงไม่ได้เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน คนทั้งประเทศต้องการบุคคลผู้ที่มีความรู้เรื่องนี้อย่างจริงๆและเป็นกำลังสำคัญให้คนที่ถูกละเมิดสิทธิในสังคม คณะกรรมการสิทธิเป็นกำลังสำคัญ คัดสรรอย่างรอบคอบ ไม่ควรเลือกเพียงแค่มีชื่อว่ามีความรู้ แต่ควรเลือกและพิจารณาลงไปถึงเนื้องานที่เคยทำ

  13. jubjang Says:

    “ศักดิ์ศรีทางสังคมอาจไม่เท่ากัน แต่ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน”


  14. ขอขอบคุณบทความมากครับ

  15. คนเดือดร้อน Says:

    ผมทำงานที่เซ็นทรัลเวิลด์ตอนเสื้อแดงยึดราชประสงค์ผมต้องย้ายไปทำงานที่อื่น
    รายได้หายไปรายจ่ายเพิ่ม พักอยู่ซอยรางน้ำแต่ต้องเดินจากแยกอโศกกลับที่พัก
    เพราะผู้ชุมนุมปิดถนน รถเมล์วิ่งถึงอโศกแล้วเลี้ยวกลับ เช่นนี้ผมถูกละเมิดสิทธิ์หรือ
    ไม่ เห็นกรรมการสิทธิ์ปกป้องแต่ผู้ชุมนุม ส่วนคนที่เดือดร้อนจากการชุมนุมท่านไม่เคยพูดถึง หรือท่านทำงานให้ใครบางกลุ่ม


ส่งความเห็นที่ ผู้สนใจ ยกเลิกการตอบ